img
admin
Responsive image

อาการของโรคออฟฟิศซินโดรมและการป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรน สิ่งที่ควรระวังและผลิตภัณฑ์ที่ช่วยป้องกันอาการปวดหลัง

ออฟฟิศซินโดรมเป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial pain syndrome) มักพบได้บ่อยในคนทำงานออฟฟิศ เพราะเป็นการทำงานที่ต้องนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง

ที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ อาจรวมถึงปวดศีรษะปวดหลังปวดตา หรือมือชาที่เกิดจากการทำงานทั้งวันในสำนักงานและไม่ค่อยได้มีการเปลี่ยนท่าทางหรือเคลื่อนไหวร่างกายมากนัก เช่นการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์หรือทำงานในท่าเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน เป็นต้น ซึ่งอาจลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง และอาจส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมาไม่ว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ระบบนัยน์ตา ระบบการย่อยอาหาร และการมองเห็นได้อีกด้วย

ออฟฟิศซินโดรมมีอาการอย่างไรบ้าง ?

  • อาการปวดหัวเรื้อรัง อาการปวดหัวเรื้อรัง หรือบางทีมีอาการปวดหัวไมเกรนร่วมด้วย สาเหตุเกิดจากความเครียดในการทำงาน หรือการใช้สายตาในการทำงานเป็นเวลานาน เช่น การอ่านเอกสาร การใช้สายตาจ้องหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน แสงบริเวณโต๊ะทำงานไม่เพียงพอ หรือแม้แต่สิ่งแวดล้อมในวันที่ทำงานที่วุ่นวาย ไม่สงบ อาจจะทำให้คุณเกิดความเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว
  • อาการปวดตึงที่คอ บ่า และไหล่แบบเรื้อรัง สาเหตุของอาการนี้มาจากอะไร เรามีวิธีสังเกตง่ายๆ ถ้าหากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์นานกว่า 8 ชั่วโมง อยู่กับกองเอกสารทั้งวัน แล้วมีอาการปวดตึงต้นคอ ปวดบ่า ปวดไหล่อยู่บ่อยๆ หรือบางทีปวดจนหันคอลำบาก ก้มก็ร้องโอย เงยก็ร้องโอย นั่นแหละคืออาการของโรค Office Syndrome
  • อาการปวดหลัง อาการปวดหลังนั้น สังเกตได้ง่ายๆเลย เพราะเป็นอาการยอดฮิตอันดับต้นๆเลยก็ว่าได้ สาเหตุของโรคนี้เกิดจากการที่เรานั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานๆทั้งวัน หรือเป็นงานที่ต้องยืนนานๆ โดยเฉพาะคุณผู้หญิงที่ใส่ส้นสูงเป็นประจำนั้น อาการของการปวดหลังนั้นคงจะหลีกเลี่ยงได้ยากแน่ๆ
  • ปวดแขน มือชา นิ้วล็อค สาเหตุของอาการนี้เกิดจากการอักเสบของปลอกหุ้มเอ็นข้อมือ เส้นเอ็นนิ้วมือ ซึ่งมาจากการที่เราใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ในการจับเมาส์ พิมพ์เอกสารในท่าเดิมๆเป็นเวลานานๆ จึงทำให้กล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาทจนเกิดพังผืดยึดจับบริเวณนั้นจึงเป็นจำนวนมาก ทำให้ปวดปลายประสาท นิ้วล็อค หรือข้อมือล็อคได้
  • อาการปวด ตึงที่ขา หรือเหน็บชา ลองสังเกตอาการนี้ง่ายๆ ว่าคุณเป็นเหน็บชาบ่อยหรือเปล่า หรืออยู่ดีๆขาไม่มีแรง อาการเหล่านี้เกิดจากการนั่งทำงานนานๆทำให้เส้นเลือดดำถูกกดทับและส่งผลให้เลือดไหลเวียนผิดปกติจึงเกิดอาการเหน็บชาได้ง่าย หากมีอาการแต่ไม่รีบรักษาปล่อยไว้ในระยะเวลานาน อาจเกิดอาการชาลามไปถึงเท้า ขาไร้เรี่ยวแรงแล้วล่ะก็ การเดินของท่านอาจจะถึงขั้นทรุด เดินไม่ได้เลยก็เป็นได้
     

การป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำวิธีลดความเสี่ยงในการเกิดออฟฟิศซินโดรม และป้องกันอาการไม่ให้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยการเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใช้ทำงานและปรับพฤติกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง ดังนี้

พักสายตา ควรพักสายตาจากจอคอมพิวเตอร์ทุก ๆ 10 นาที โดยให้มองออกไปไกล ๆ กะพริบตาบ่อย ๆ เพื่อป้องกันภาวะตาแห้ง หรืออาจลองหลับตาประมาณ 3-5 วินาที เพื่อช่วยกระตุ้นน้ำตาให้ไหลเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ดวงตา โดยเฉพาะเมื่อรู้สึกเคืองตา ปวดตา หรือแสบตา

  • ขยับและปรับท่าทางบ่อย ๆ ปรับอริยาบทด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อมือและแขนทุก 1 ชั่วโมง และเปลี่ยนท่าทางการทำงานทุก 20 นาที โดยอาจบิดตัว ขยับซ้ายขวา ยืดเส้นยืดสาย หรือลุกขึ้นเดิน
  • ปรับท่านั่ง ควรนั่งหลังตรง ให้หลังชิดขอบด้านในหรือพนักพิงของเก้าอี้ วางข้อมือในตำแหน่งตั้งตรง ไม่บิดหรืองอข้อมือขึ้นลง และวางเท้าลงบนพื้นโดยให้ขาทำมุม 90 องศา
  • ปรับเก้าอี้ ควรปรับขอบเบาะเก้าอี้ให้ต่ำกว่าระดับเข่า โดยให้มีช่องว่างระหว่างขอบเก้าอี้กับขาด้านหลัง และปรับพนักพิงให้รองรับหลังส่วนล่างได้พอดี แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ ให้ลองใช้หมอนหนุนบริเวณดังกล่าวแทน
  • ปรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับเดียวกับสายตาหรือให้ตรงกับใบหน้า โดยให้จอคอมอยู่ห่างเท่าความยาวแขนในระยะที่อ่านจอแล้วสบายตา วางแป้นพิมพ์ให้อยู่ในระดับข้อศอกทำมุม 90 องศา และวางเมาส์ให้อยู่ในบริเวณที่เคลื่อนไหวได้สะดวก ไม่จำกัดพื้นที่จนเกินไป รวมทั้งขณะที่ใช้เมาส์ควรพักข้อศอกไว้บนที่รองแขน
  • ทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศ ควรทำความสะอาดเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ หากเกิดการชำรุดหรือเสียหายควรซ่อมแซมให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ
  • ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสมสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพร่างกายและกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
     

การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม

  • รับประทานยา เพื่อช่วยบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้อักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น หากอาการไม่ดีขึ้นแนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำกายภาพบำบัดในการรักษาต่อไป
  • การทำกายภาพบำบัด เป็นการรักษาอาการออฟฟิศซินโดรมที่เกี่ยวข้องกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก และยังเป็นการประเมินโครงสร้างร่างกายและการปรับร่างกายให้เกิดความสมดุล รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอื่น ๆ ที่อาจเกิดตามมาได้ในระยะยาว
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เริ่มจากการนั่งให้ถูกวิธีโดยการนั่งตัวตรง พยายามอย่าก้มคอ ปรับระดับเก้าอี้ให้พอดีกับโต๊ะ และควรพักสายตาหลังจากทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน  เช่น การมองออกไปไกล ๆ เป็นต้น

โรคออฟฟิศซินโดรมเป็นโรคที่เราสามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับพฤติกรรมในที่ทำงาน และไม่ควรปล่อยปละละเลยหากเกิดสัญญาณเตือนของอาการ เพราะการดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เนิ่น ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้ มาเนกิอยากให้ทุกคนตระหนักถึงโรคใกล้ตัวอย่างโรคออฟฟิศซินโดรมให้มากๆ เพื่อไม่ให้เกิดโรคเรื้อรัง มาเนกิขอเสนอสินค้าสำหรับผู้รักสุขภาพและผู้ที่ไม่อยากเกิดโรคเรื้อรังที่จะเป็นปัญหาในอนาคต

 

ขอขอบคุณบทความสุขภาพจาก petcharavejhospitalpobpadthaiinterhospital
เครดิตรูปภาพ pexels

 

 

Related Posts

Search

Need Help for any Details?

+68 872-627-9735

Free Support!